ตำหนิอย่างไรไม่ให้ลูกน้องfail
ทฤษฏีแอบแฝงของของ Sandwich Feedback
“เดี๋ยวไปพบผมที่ห้องทำงานหน่อยนะ”
ใครบ้างที่ได้ยินคำนี้แล้วจะไม่แอบเสียวสันหลังวาบ พอรู้ว่าเจ้านายจะเรียกไปคุย (ด่า ตำหนิ บ่น ว่ากล่าว แล้วแต่จะเรียก) ปฏิกิริยาของลูกน้องตัวน้อย ๆ ผู้แสนจะบอบบางที่มีชนักติดหลังอย่างเรา ก็จะเริ่มมีอาการไหล่ตก หูลู่ สมองเกิดอาการ Shut Down กระทันหัน เป็นปลาโดนน็อคน้ำแข็งกันทีเดียว
แบบนี้จะได้ปรับปรุงตัวกันบ้างมั้ยเนี่ย
ส่วนฝั่งเจ้านายล่ะ ถ้าเจอแบบนี้ จะมีวิธีแก้กับสถานการณ์อย่างไรดีนะ?
วันนี้ผู้เขียนขอเสนอทฤษฏี Sandwich Feedback หรือกลวิธีในการตำหนิคนอย่างแนบเนียน
โดยที่ผู้พูดได้พูดสิ่งที่ต้องการบอก และผู้รับฟังยังรู้สึกดีเหมือนเดิมมาฝากกันค่ะ
อะไรคือ Sandwich Feedback?
Sandwich Feedback คือการพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้าง เพื่อให้ทราบว่าเขาควรปรับปรุงตัวหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง
และถึงแม้จะเป็นการตำหนิ แต่เจ้าตัวก็ยังรู้สึกดีอยู่ดี เพราะเราไม่ได้พูดถึงแต่ด้านแย่ ๆ ของเขาไปทั้งหมด
ตามทฤษฏีนี้บอกว่า หลักการติเตียนคนไม่ใช่ว่าจะเรียกเขามาตำหนิอย่างเดียว แต่ต้องเรียบเรียงบรรยากาศการพูด ให้เหมือนกับแซนด์วิชที่มี 3 ชั้น
เมื่อกัดลงไปแล้วจะพบกับทั้งชั้นบนและล่างที่เต็มไปด้วยคำชมอย่างจริงใจ หรือข้อดีที่เราเห็นว่าเขาทำได้ดีจริง
ส่วนแกนกลางคือแก่นที่เราต้องการจะบอกเขา หรือสิ่งที่เราต้องการให้เขาปรับปรุง ยกตัวอย่างเช่น
ชม (praise) – คุณเอครับ ผมชื่นชมในไอเดียในการทำงาน คุณเป็นครีเอทีฟที่ยอดเยี่ยม ผมสนุกและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เห็นผลงานของคุณ
ตำหนิ (criticism) – แต่อย่างไรก็ดี การรักษาเวลาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับการทำงาน ถึงแม้ว่าคุณจะทำงานดีอย่างไร
แต่ถ้าหากส่งช้า ทุกอย่างที่ตั้งใจทำมาจะไม่ได้ใช้ ทำให้ไอเดียนั้นสูญเปล่าไปเลยนะ
ชม (praise) – แต่ผมดีใจก็มากนะครับที่คุณยินดีรับฟัง ผมชื่นชมในความขยันและทุ่มเททำงานเป็นอย่างมาก พวกเราทุกคนทราบดีสำหรับจุดนี้
เห็นมะ ดูดีขึ้นเห็น ๆ
สำหรับเทคนิคนี้ไม่ได้ใช้ได้แค่ที่ทำงานด้วยนะคะ สามารถนำเอาไปใช้กับครอบครัวหรือคนรอบข้างที่อื่นได้ด้วย ฟังแล้วรู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาเป็นกองเลย
แต่ถ้าแซนด์วิชแล้วยังไม่ได้ผล อาจจะต้องเป็นอเมริกาโนร้อนสาดหน้า เช่นตัดเงินเดือนกันบ้างแล้วล่ะ
อย่าเลยครับเจ้านายยยยยยยยยยย ผมกลัวแย้วววววววววว T^T
Have a nice day ka!!!
#PRTR
*ขอขอบพระคุณข้อมูลดี ๆ จาก Seminar industrial and organizational psychology ด้วยค่ะ