Skip links

ผู้เชี่ยวชาญ VS นักนำเสนอ ท้ายสุดเเล้วจะเหลือใคร? ในเวทีสังคม

ผู้เชี่ยวชาญ vs นักนำเสนอ
ข้อโต้แย้งนี้เกิดขึ้นได้ในทุกวงการ
เมื่อผู้ฟังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการประเมินว่า
ใครคือผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถจริงๆ

//
นั่นทำให้คนที่ได้รับการยอบรับในท้ายที่สุด
จะเกิดจากปัจจัยด้านการนำเสนอข้อมูล
พูดเก่ง คุยสนุก เถียงเก่ง รู้ไปหมดทุกอย่าง
//

เมื่อวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่อาจเป็นปัจจัยนั้น อาจเกิดขึ้นจาก
ข้อจำกัดด้านเวลา กับปริมาณของข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาล

คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะฟัง ในสิ่งที่เค้าอยากจะฟัง
ซึ่งความอยากฟังนั้น มักไม่สัมพันธ์กับคุณภาพของข้อมูล
แต่กลับสัมพันธ์กับ… บุคลิกหน้าตาของคนพูดเป็นอย่างไร?
พูดเก่งมั้ย หัวไว เถียงเก่งแค่ไหน?

– Positive มากหน่อย
นั่นจึงเป็นเรื่องดี ที่ผลักดันให้คนส่วนใหญ่
หันมาให้ความสําคัญกับทักษะ “การนำเสนอ”

– Positive น้อยหน่อย
ที่น่าเป็นห่วงนั่นคือ “การสร้างภาพ”
การใช้เวลาทำให้ตัวเอง “ดูเหมือนผู้เชี่ยวชาญ”
มากกว่าใช้มันไปกับการฝึกฝนพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ

มีทฤษฎีนึงที่น่าสนใจชื่อว่า Asymmetrical Information
ใจความสำคัญของมันคือ
“คนซื้อไม่มีข้อมูลข่าวสารเทียบเท่ากับคนขาย”

ยกตัวอย่าง
คุณ ก. ผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถ + มีทักษะนำเสนอที่ดี
คุณ ข. นักสร้างภาพผู้มีทักษะนำเสนอที่ดี

เมื่อทั้งคู่ได้รับการยอมรับจากคนและสังคมในระดับเดียวกัน
ทฤษฎีกล่าวว่า ทักษะความเชี่ยวชาญที่แท้จริงของ คุณ ก.
จะหายจากตลาดหรือสังคมนั้นๆ ไปในที่สุด
เพราะไม่มีความจำเป็นต้องมี เพื่อให้ได้รับการยอมรับอีกต่อไป

เเม้โลกจะพยายาม “รั้ง” คุณไว้ การ “เชื่อ” ว่าคุณสามารถทำมันได้สำคัญที่สุดในการบรรลุเป้าหมาย

ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR 

Top