Skip links

คนที่เป็นที่ต้องการมากกว่าคนเก่งคือการเป็นคนดี

ทักษะนั้นสามารถประเมินได้ไม่ยาก
แต่เรื่องของทัศนคติและจิตใจอาจเป็นสิ่งที่ประเมินได้ไม่ง่าย
เพราะไม่สามารถหาคำตอบที่ตรงไปตรงมาจากผู้สมัครได้เลย

ดังนั้นการเพิ่มเติมคำถาม
เพื่อวัดถึง “ปัญญา” และ “จริยธรรม” ของผู้สมัคร

จะช่วยให้เรามองเห็นตัวตนของเขาได้ดียิ่งขึ้น
จากตัวอย่างคำถามต่อไปนี้

// คุณสมบัติด้านไหนของคุณพ่อคุณแม่ที่คุณอยากมี
และอยากส่งต่อไปถึงลูก ๆ ของคุณด้วย ?

คำถามนี้จะช่วยให้คุณเห็นมุมมองและการวางแผนในอนาคต
คำตอบเรื่องของคุณสมบัติที่ดีนั้น จะทำให้คุณรู้ว่า
ผู้สมัครต้องการที่จะใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ไปใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

// คำตอบของ 25 x 25 คือ ?

ใช่ครับมันไม่เกี่ยวกับการวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ใด ๆ ทั้งสิ้น

การตั้งคำถามเช่นนี้กับผู้สมัครงาน จะช่วยให้คุณเห็นวิธีการรับมือกับปัญหา
หรือความพยายามในการตอบคำถามเมื่ออยู่ใน “สถานการณ์ที่น่าอึดอัด”

และผู้สมัครนั้นจะสามารถข้ามผ่านความลำบากใจ
และความรู้สึกไม่สบายในการทำงานกับคุณได้ดีแค่ไหน
… และแสดงออกมาในรูปแบบใด

ต่อต้าน ไม่เห็นด้วย หัวเราะเยาะ หรือถึงขั้นโมโหหรือไม่?
หรือเพียงแค่ตอบคำถามไปตามปกติอย่างเปิดใจ

// พูดถึงคน 3 คน ที่ช่วยให้คุณเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
และคิดว่าพวกเขาจะพูดอะไรเกี่ยวกับคุณ หากบริษัทจะโทรหาเขาในวันพรุ่งนี้ ?

คำถามยาว ๆ ข้อนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า
ผู้สมัครมีมุมมองต่อคนอื่น ๆ อย่างไร
การคาดการณ์เกี่ยวกับการพูดถึงตัวเองของแต่ละคน
นั้นช่วยประเมินได้ว่า ผู้สมัครจะมีทัศนคติอย่างไรกับเพื่อนร่วมงาน
หากได้เข้ามาทำงานในองค์กรของคุณ

// ถามพนักงานต้อนรับหรือรปภ.ของบริษัท
ว่าผู้สมัครมีมนุษยสัมพันธ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

เพื่อตรวจสอบว่าผู้สมัครนั้นปฏิบัติต่อคนแปลกหน้าเช่นไร
เพราะการทำงานร่วมกันนั้น จะให้ความสำคัญกับหัวหน้างานอย่างเดียวไม่ได้
ในแต่ละองค์กรล้วนมีบุคคลอื่นๆ ที่ต้องให้ความสำคัญและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีด้วยเช่นกัน

เจ้าหน้าที่รปภ.และพนักงานต้อนรับนั้น
จะเป็นกลุ่มที่มักจะได้เห็นการแสดงออกถึงความให้เกียรติ
และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ “ดี” หรือ “แย่” ของผู้คนอยู่เสมอ

// ลองถามตัวเองดูว่า คุณสามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนๆ นี้ได้หรือไม่ ?

คำถามนี้ไม่ต้องถามผู้สมัครงาน
แต่คุณควรถามตัวเองหลังการสัมภาษณ์สิ้นสุดลงแล้วว่า
คุณ… สามารถที่จะใช้เวลาในช่วงวันหยุดกับคนๆ นี้ได้หรือไม่
หากคำตอบของคุณคือ “ไม่มีทาง”
นั่นหมายความว่า คุณอาจยังไม่เจอคนที่สามารถร่วมงานกับคุณจริงๆ ก็เป็นได้

หลุมลึกของความผิดหวัง เเละ “พลัง” ของคำพูด

ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR 

Top