Skip links

เพราะอะไร…เราถึง “ไม่ไป” เสียที?

“คนบ่นอยากออกมักไม่ได้ออก คนออกคือ…คนที่ไม่พูดอะไรเลย”

คุณเคยคิดหรือเคยได้ยินคนรอบข้างบ่นว่า
“อยาก” ลาออก
“อยาก” เปลี่ยนงาน
“อยาก” มีชีวิตที่ดีขึ้นกันบ่อย ๆ ใช่ไหมคะ

แล้วเพราะอะไรคนที่บ่นราวกับจะเป็นจะตาย
ถึงไม่เคยก้าวข้ามจุดที่เอาแต่บ่นไปได้เสียที
วันนี้เราจะมาไขความลับว่า…
เพราะอะไรถึงไดแค่ “อยาก” แต่ไม่ลงมือทำกันเสียทีกันค่ะ

“ความอยาก” แปลว่าความต้องการ หรือความปรารถนาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอย่างมาก
ซึ่งแบ่งได้คร่าว ๆ ออกเป็น 5 ระดับ


 ลำดับแรก คือ Physiological Needs
ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น มีงานทำ
มีเงินใช้เพียงพอสำหรับชีวิตประจำวันและค่าที่พักอาศัย ค่าเดินทาง เป็นต้น

ลำดับที่สอง คือ Safety Needs
หรือความมั่นคงในหน้าที่การงาน เช่น มีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี
ได้รับสวัสดิการหรือค่ารักษาพยาบาลที่พึงพอใจ

ลำดับที่สาม คือ Social Needs
หรือการยอมรับทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน
เจ้านาย หรือเป็นที่ภาคภูมิใจต่อคนรอบข้าง

ลำดับที่สี่ คือ Esteem Needs
หรือการนับถือในตนเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากความสำเร็จที่ทำด้วยตนเอง
หน้าที่การงานที่สูงขึ้น งานที่ท้าทาย หรือการมีส่วนร่วมในองค์กรที่ใหญ่โต เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดแรงกระเพื่อมต่าง ๆ

ลำดับที่ห้า คือ Self-actualization Needs
หรือความต้องการเติมเต็มในศักยภาพของตนเอง
ต้องการพัฒนาตนเองให้สามารถก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดในหน้าที่การงานได้
*อ้างอิงตามทฤษฏีของมาสโลว์

ซึ่งส่วนมากนั้นติดอยู่ในสถานะ ระดับ2 เสียเป็นส่วนใหญ่
สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่สถานะที่สูงกว่านั้นได้
เนื่องจากสิ่งที่คั่นกลางระหว่างความต้องการและความสำเร็จก็คือ

“ความกลัว”

ความกลัว…ที่จะออกจากความมั่นคง
ความกลัว…ที่จะไม่ได้รับการยอมรับทางสังคมจากคนใหม่ ๆ
ความกลัว…ที่จะไม่สามารถเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ
หรือจุดสูงสุดในหน้าที่การงานได้ในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป


จะก้าวข้ามความ “กลัว” ได้อย่างไร?
1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน พร้อมกำหนดระยะเวลา

2. เปิดรับข่าวสารหรือเนื้อหาบทความ
เกี่ยวกับด้านทรัพยาการบุคคลอยู่เสมอ
(การฝากประวัติไว้ก็เป็นอีกวิธีการ “เปิดโอกาส” ให้กับตัวเองได้เช่นกัน
http://jobs.prtr.com/#Register)

3. ศึกษาทั้งตำแหน่งงานและองค์กรที่เราสนใจ ว่าใกล้เคียงกับความต้องการของเราแค่ไหน

4. สอบถามจากคนรอบข้างหรือเรียนรู้จากสื่อสังคมต่าง ๆ
(แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีอะไรจะการันตีได้ว่าสิ่งที่รับรู้มาจะเป็นไปตามนั้น 100%)

5. เตรียมแผนสำรองในกรณีที่ไม่เป็นไปตามคาด หรือต่ำกว่าจุดที่รับได้

…เพราะลักษณะของคนที่จะประสบความสำเร็จ
และพบความสุขตามที่มุ่งหวังไว้
คือคนที่กล้าก้าวผ่าน “ความกลัว”
และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ไม่ใช่คนที่ได้แค่คิด แต่ไม่เคยลงมือทำ

อย่าปล่อยให้ความ (แค่) อยาก เป็นตัวฉุดรั้งคุณจากความสำเร็จ
เป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ให้กับชีวิตค่ะ

Top