จากบริษัทที่กำลังเติบโต กลับมีรายได้กลายเป็น “ศูนย์”
จากหน้าที่การงานกำลังไปได้สวย รอโบนัส รอการโปรโมต
แต่ทุกอย่าง…กลับหายวับไปกับตา
แล้วจะทำไงกันต่อ? เมื่อสูญเสียกันไปขนาดนั้น คงเสียศูนย์กันแน่ๆ
จึงเป็นที่มาของคำว่า Resilience หรือคุณลักษณะ “ความยืดหยุ่น” ของความคิดและจิตใจในการรับมือและแก้ปัญหา
“ปรับตัวได้” ปรับใจยอบรับสถานการณ์ กัดฟัน สู้กับมันต่อ
“ล้มและลุกเร็ว” ไม่เฟลนานเกินไป
“พลิกแพลง” อะแดปต์เก่ง ปรับเก่ง เปลี่ยนได้ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
ทักษะ Resilience สร้างได้ หลักๆ มีอยู่ 3 อย่าง
1– ฝึกมองโลกตามความเป็นจริง คิดบวก แต่ไม่เพ้อฝัน
คิดถึง Worst-case scenario ว่ามันอาจแย่ลงอีกนะ แล้วถ้าแย่แบบนั้นจะรับมือยังไง
2– ฝึกคิดทบทวนแบบมีลอจิก
คิดเป็นเหตุเป็นผล ที่มันเป็นแบบนี้เพราะเราพลาดตรงไหน? จุดอ่อน จุดแข็งเรามีอะไรบ้าง คิดทบทวนไม่ใช่คิดมาก คิดวนไปวนมาเหนื่อยใจ อันนั้นคนละแบบ!
3– ฝึก “อิมโพรไวส์”
ให้นึกถึงนักดนตรีแจ๊สที่เล่นแบบ “อิมโพรไวส์” ลื่นไหลไปกับเสียงเพลงที่ไม่รู้ล่วงหน้าว่าต้องเล่นแบบไหน แต่สามารถเล่นเข้ากับจังหวะและท่วงทำนองได้อย่างลงตัวสวยงาม – คือยืดหยุ่น คิดพลิกแพลง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
อย่างไรก็ตาม ผลศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อทักษะ Resilience มากที่สุดคือ “คนที่อยู่รอบข้าง” เราจึงต้องเลือกคบคนให้ถูก เลือกอยู่ในสังคมที่ดีที่ส่งเสริมพลังด้านบวกซึ่งกันและกัน
ฝึกคิดบ่อยๆ แวดล้อมตัวเองไปด้วยคนคิดดีทำดี –ให้เมื่อล้มแล้วลุกได้ไว ดีกว่าล้มแล้ว “เลิก” ให้มันจบไปแล้วไม่ทำอะไรอีกเลย
อย่าปล่อยให้ ฮิปโปส์ ลากบริษัทคุณลงน้ำ
ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR