หากคุณเคยพยายามพูดภาษาอังกฤษให้ได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา แต่คนรอบข้างกลับล้อเลียนมีพฤติกรรม “เบ้ปาก มองบน” ส่อไปทางว่าคุณกำลังทำตัวน่าหมั่นไส้! นั่นแหละคุณกำลังเจอกับสถานการณ์ “Smart Shaming”
“เนิร์ดแบบนั้น เมื่อไหร่จะมีแฟน”
“ก็เก่งแหละมั้ง แต่คงอาร์ตมากพูดจาไม่รู้เรื่อง”
“พูดอังกฤษก็แย่ ก็ยังพยายามพูดอยู่นั่นแหละ // เบ้ปาก”
บางคนมีพฤติกรรมถากถางคนที่เก่งกาจในด้านวิชาการ เช่น ไอที ว่าเป็น “เนิร์ด” (Nerd) หรือ “กี๊ค” (Geek) หรือแม้กระทั่งคนที่มีความพยายามพัฒนาตัวเองว่าดูตลกและน่าสงสาร
วิธีคิดเช่นนี้มักผูกกับการล้อเลียนด้วยการสร้างภาพลักษณ์แย่ๆ ให้กับคนมีความสามารถ และโยงพวกเขาเข้ากับคนที่มีปัญหาด้านบุคลิกและการเข้าสังคม
คนที่เก่งและมีความสามารถในเรื่องยากๆ ไม่จำเป็นเสมอไปว่าต้องเป็นคนที่แปลกประหลาดและเก็บตัว จะเก่งวิชาการ หรือจะมีบุคลิกภาพที่ดี หรือจะเข้าสังคมได้ดีนั้นไม่ใช่ตัวเลือกที่ต้องเลือกเพียงข้อใดข้อหนึ่ง คุณเลือกที่จะเป็นทั้งหมดได้ และมันสิ่งที่พวกเราทุกคนควรทำเช่นกัน
แนวคิด “Smart Shaming” ของผู้แพ้เหล่านี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคนที่ถูกบูลลี่แล้ว ยังขัดขวางความคิดแบบเติบโตของคนอ่อนแอเหล่านี้ไปด้วย เพราะทำให้ความพยายามในการเรียนรู้หยุดลงและหันมาดึงคนอื่นให้แย่ตาม
ทั้งนี้เพื่อให้เห็นดีเห็นงามกับ “ความฉลาดน้อย” แบบพวกเขาไปด้วย
ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR ได้ที่
https://web.facebook.com/prtr.thailand/