Skip links

เมื่อทำผิดต้องยอมรับผิด หยุดสองมาตรฐาน (ในที่ทำงาน)

เรื่อง “สองมาตรฐาน” เกิดขึ้นได้ทุกที่ในสังคม ในที่ทำงานก็พบปัญหาความไม่ยุติธรรมแบบนี้เช่นกัน หากฝ่ายบริหารหรือผู้จัดการกระทำการเข้าข่ายสองมาตรฐาน เช่น การให้สิทธิ์แก่บางคนหรือบางแผนกเป็นพิเศษ หรือแม้แต่การทำผิดนโยบายของบริษัทแต่กลับไม่มีความผิด

สิ่งเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อทั้งประสิทธิภาพการทำงาน อัตราการลาออก และชื่อเสียงด้านลบขององค์กรในท้ายที่สุด
เคสหนึ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา พนักงานท่านหนึ่งได้ส่งจดหมายขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาการบริหารองค์กรไว้ตามนี้

คำถาม:
ฉันทำงานอยู่ที่องค์กรแห่งหนึ่งมาได้ 1-2 ปีแล้ว บริษัทนี้มีชื่อเสียงมาก น่าเชื่อถือและน่าดึงดูดให้เข้ามาร่วมงานด้วย แต่… เมื่อทำงานได้สักพัก ฉันพบว่าสิ่งที่เคยรับรู้ผ่านสื่อมันต่างจากความเป็นจริงมาก! ที่นี่มีจริยธรรมต่ำ อัตราการลาออกสูง และที่แย่ที่สุดคือการบริหารพนักงานด้วยการข่มขู่ให้หวาดกลัว

เรื่องเกิดขึ้นจากผู้จัดการฝ่ายหนึ่งเริ่มจ้างเพื่อนและญาติของตนเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก คนกลุ่มนี้ถูกตั้งคำถามอยู่บ่อยครั้งถึงความสามารถและการทำงานที่ไม่เป็นมืออาชีพ จนกระทบกับงานของฉันและคนอื่นๆ ในหลายแผนก
รวมไปถึงความเป็น VIP ที่มักได้สิทธิ์เหนือกว่าพนักงานคนอื่นๆ เช่น ชั่วโมงการทำงาน และเวลาในการเข้าออฟฟิศ

ความ “สองมาตรฐาน” เริ่มหนักขึ้นเมื่อฉันและพนักงานบางกลุ่มได้ยื่นเรื่องนี้ต่อผู้บริหารฝ่าย HR แต่สุดท้ายได้การตอบกลับมาว่า “มันไม่ใช่เรื่องที่พนักงานอย่างคุณต้องมากังวล โปรดทำงานของคุณต่อไป”

แน่นอนว่าฉันและเพื่อนพนักงานกลุ่มนี้โดนตราหน้าว่าเป็น “พวกสร้างปัญหา” ไปเรียบร้อยแล้ว แล้วปัญหาแบบนี้จะสามารถแก้ไขอย่างไร เมื่อมีการละเมิดจริยธรรมแบบนี้เกิดขึ้นในองค์กร? นอกจากการลาออกซึ่งเป็นทางเลือกที่ดูจะเหมาะสมกับฉันที่สุดในตอนนี้

คำแนะนำ:
ดูเหมือนคุณกำลังเจอกับเรื่องยุ่งยากเป็นสองเท่า เพราะผู้จัดการฝ่าย HR เป็นคนที่ขาดความเห็นอกเห็นใจ ถ้าคำถามคือคุณจะต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร? คำตอบคือคุณทำอะไรไม่ได้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ถึงขั้นผิดกฎหมาย แต่ก็ผิดจริยธรรมซึ่งจะสร้างความวุ่นวายได้อย่างไม่สิ้นสุด

อย่างไรก็ตามคุณสามารถเลือกเดินทางใหม่ด้วยตัวของคุณเองเสมอ ฉันสนับสนุนและแนะนำให้คุณเริ่มเดินตั้งแต่วันนี้ องค์กรที่ดีมีอยู่อีกมากมาย จงอยู่ในที่ที่ดีและเหมาะสมกับคุณที่สุด

องค์กรที่ละเลยด้านจริยธรรมจะถูกบอกต่อกันด้วยปากต่อปาก (word of mouth) ซึ่งแพร่กระจายและกลับมาทำลายภาพลักษณ์ของบริษัทได้เร็วกว่าที่คิด เมื่อถึงตอนนั้นหากจะกลับมาแก้ไขด้วยการสื่อสารออกไป คงไม่มีใครทำใจ “เชื่อคำพูด” ของบริษัทนั้นได้ลง

 


 

ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR ได้ที่
https://web.facebook.com/prtr.thailand/

ด่าลูกน้องขุด “ความผิดพลาด ” ให้อับอาย คือหัวหน้าที่ผิดพลาดเช่นกัน

Top