Skip links

ใช่หรือยัง? กับตำแหน่งที่ทำอยู่

ใครเรียนจบมา ทำงานไม่ตรงสาย ยกมือขึ้น
“มีพนักงานเพียง 27% เท่านั้นที่จบมาทำงานตรงสายที่เรียน”

จากผลสำรวจของคุณ Jaison Abel และ Richard Dietz
จาก ธนาคารกลางของสหรัฐ (Federal Reserve Bank of New York)

ไม่ใช่แค่ต่างประเทศเท่านั้นแต่รวมถึงประเทศเราด้วยเช่นกันค่ะ
แปลกใจที่ไหนกันล่ะคะ เพราะหลายตำแหน่งงานที่เปิดรับส่วนใหญ่
ไม่จำเป็นต้องใช้ปริญญาสายตรง หรือสายเฉพาะทางกันทั้งนั้น

ก็เลยทำให้การเปลี่ยนสายงานมีความเป็นไปได้มากขึ้นไงล่ะคะ
ถึงแบบนั้นการเปลี่ยนสายงานก็ยังมีเรื่องที่ต้องรู้ไว้ด้วยเหมือนกัน
นั่นก็คือ
1.ความเปลี่ยนแปลงคืออุปสรรคใหญ่ที่จะตามมา

โอย บางคนเปลี่ยนสายงาน อุปสรรคเยอะเหลือเกินค่ะ

เพราะบางคนกว่าจะเปลี่ยนสายอาชีพได้ก็อายุมากจนเกินไป
ทำให้ประสบความสำเร็จช้า
หรือบางคนก็ต้องยอมแลกกับเงินเดือนที่น้อยลง
เพื่อให้ได้ทำงานตรงกับสายที่เรียนมาจริง ๆ

ซึ่งนี่ยังไม่รวมถึงการเปลี่ยนที่พักอาศัยเพื่อโอกาสในการทำงาน
หรือการที่ต้องเดินทางไกลขึ้นด้วย

ซึ่งไม่ใช่อุปสรรคภายนอกที่เราต้องเผชิญอย่างเดียว
แต่ยังเป็นอุปสรรคภายในที่เราต้องแบกรับมันไว้ด้วยค่ะ

2.เจ็บกว่าการลาออกคือคิดไม่ออกว่าจะลาออกไปทำอะไรดี

หลายคนคิดลาออกจากงานวันละ 38,978 ครั้ง

เลิกงานกลับมาก็นอนละเมอต่อว่าจะลาออกไปทำอะไรดี
เอ๊ะ หรือว่าไม่ออกดี โอ้ย คิดแล้วสับสนเหมือนคนมีหนี้แล้วลืมจ่าย

ใช่ค่ะ เจ็บกว่าการลาออก คือคิดไม่ออกว่าจะลาออกไปทำอะไรดี
เจอแบบนี้จะคิดให้ออกคือเราต้องคิดอย่างมีหลักการค่ะ
ซึ่งคำแนะนำสำหรับเรื่องนี้ก็คือ
ใช้การวิเคราะห์ อย่างมีแบบแผนมากขึ้น
แน่นอน เราต้องไม่มโนขึ้นมาเองนะคะ เช่น
ลองทำแบบทดสอบจิตวิทยาหางาน MBTI คลิก!
ใช้วิธีคิดแบบ Design Thinking คลิก !
สูตรหางานที่ใช่ G+P+V คลิก
ลิสต์รายการตำแหน่งงานออกมา แล้วหางานที่คิดว่าใช่กับเราจริง ๆ นะคะ

3.ไม่ควรเอาแต่หางานเพื่อได้งานที่ใช่

“กรี๊ด! ตำแหน่งนี้น่าสนใจ ชอบอ่า”

จะเปลี่ยนสายงานก็ต้องใช้เวลาหางานก็จริง
แต่จะมานั่งหาแค่ตำแหน่งงานที่เราชอบไม่ได้นะคะ
หากตำแหน่งงานที่ชอบนั้นเป็นสายงานคนละขั้วกันเลย

ตำแหน่งที่หาอาจต้องดึงสติหาความเป็นไปได้นิดนึงนะคะ
แต่ถ้าโชคชะตาฟ้าลิขิต หรือบนกับเจ้าแม่อะไรไว้มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์
ก็เตรียมพรีเซนต์ตัวเองให้ดีไว้เลยค่ะ โอกาสดี ๆ หายากนะเออ

ที่สำคัญให้คำนึงถึง คู่แข่ง คนที่กดสมัครงานตำแหน่งเดียวกันกับเรา
อายุเท่ากัน ประสบการณ์ตรงสายงาน เรียกเงินเดือนเท่ากับเรา
หากเราเป็น HR คนสัมภาษณ์ คำตอบก็ชัดเจนอยู่แล้ว

ถ้าตำแหน่งนี้เน้นมีประสบการณ์ตรง ไม่ใช่สายงานของเรา
“โอกาส” ที่เราจะได้จะกลายเป็นแค่ “อากาศเบา ๆ” ไปเลยค่ะ

เมื่อเกิดความรู้สึกอยากเปลี่ยนอาชีพ สิ่งที่ควรทำหลังจากที่ทราบกันไปแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
คราวนี้มาถึงสิ่งที่ต้องทำ และ ‘ควรจะทำ’ เมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมากันบ้างดีกว่า

1.ลองทำสิ่งที่ชอบร่วมกับคนอื่น
ในทุก ๆ สาขาอาชีพนั้นต้องมีการทำงานร่วมกันกับคนอื่น ๆ ในบริษัท เมื่อคุณทราบแล้วว่าอะไรคือสิ่งที่สนใจและอยากลองลงมือทำจริง ๆ ให้ลองหากลุ่มคนที่รักและสนใจ หรือชอบที่จะทำสิ่งนั้นเหมือน ๆ กัน แล้วลองใช้เวลาในการลงมือทำร่วมกันดู จะช่วยให้คุณมีประสบการณ์และได้เข้าใจในสิ่งที่สนใจมากขึ้นได้ เพราะการทำงานเป็นทีมยังไงก็ย่อมดีกว่าคนเดียวอยู่แล้ว

2.ลงมือทำให้มากกว่าคิด
ความสำเร็จในทุกเส้นทางอาชีพก็คือ การได้ลงมือทำอย่างจริงจัง และแม้ว่ามันจะยังไม่ใช้อาชีพหลักของคุณก็ตาม แต่เพียงแค่ได้ลงมือทำอย่างเต็มที่ก็ถือว่าคุณได้ใกล้เข้าไปสู่ความสำเร็จ บนเส้นทางอาชีพที่คุณต้องการแล้วล่ะ ฉะนั้นแล้วอย่ามัวแต่คิดแต่ให้ลงมือทำมากกว่าเดี๋ยวผลลัพธ์ก็จะมาถึงเอง

3.ลองสร้าง Connection ให้มากกว่าการหางาน
บางครั้ง การได้งานก็ไม่ได้มาจากการส่งใบสมัครเพียงอย่างเดียว แต่หลาย ๆ คนได้งานที่ชอบจากการสร้าง Connection ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลเหล่านี้ บางครั้งกลับมีคุณภาพมากกว่าการพิจารณาจากใบสมัคร หรือนัดสัมภาษณ์งานเสียอีกนะคะ

ใครที่กำลังรู้สึกสับสนกับงานที่ทำ หรือเกิดคำถามกับตัวเองอยู่ว่าควรจะเลือกเดินต่อไปในเส้นทางไหน
ก็ลองนำวิธีทั้งหมดนี้ไปลองใช้กันดูนะคะไม่แน่อาจจะได้พบคำตอบที่คุณกำลังตามหาอยู่ก็เป็นได้
.
.
#PRTR #PeopleAreKey
#Recruitment #TotalHRSolutions #หาคน #หางาน
.
.
สร้างโปรไฟล์สมัครงาน http://job.prtr.com/user/register
เช็คตำแหน่งงานว่างได้ที่ http://job.prtr.com/
อัพเดทตำแหน่งงานว่างได้ที่ Line@: http://line.me/ti/p/~@prtr

image by unsplash.com

Top