Skip links

ทำไมคนรู้น้อย ฉลาดไม่มาก กลับมั่นหน้า ว่าเหนือกว่าใคร

หากคุณเคยเจอคำวิจารณ์จากใครด้วย “ความมั่นหน้า” และน่าฉงนในความมั่วของข้อมูล จนแปลกใจว่าทำไมคนที่ไม่เข้าใจอะไรเลยถึงมีความมั่นใจขนาดนั้น! เรื่องนี้จิตวิทยามีคำตอบ

ชาร์ลดาร์วินกล่าวไว้ว่า “ความไม่รู้มักจะทำให้เกิดความมั่นใจมากกว่าความรู้” ฟังในครั้งแรกคงรู้สึกแปลกๆ ว่าทำไมมันตรงกันข้าม?
ปรากฎว่าสิ่งที่ดาร์วินเคยเขียนไว้แต่โบราณนั้นถูกต้องทุกประการ ซึ่งตรงกับผลศึกษาทางจิตวิทยา Dunning-Kruger Effect ที่พบว่า

“ยิ่งเรารู้น้อยเท่าไหร่เรายิ่งมีความมั่นใจมากเท่านั้น”

จากกราฟจะเห็นว่าเริ่มต้นจากซ้ายมือสุดคือคนที่ไม่รู้อะไรเลย (Know-nothing) จึงไม่มีความมั่นใจอะไรเลยไม่กล้าแสดงความเห็น แค่ถามยังไม่กล้าเพราะไม่รู้จะถามอะไร
แต่พอเริ่มมีความรู้เพิ่มนิดหน่อยแม้เพียงหางอึ่ง คนบางคนมักจะประเมินตัวเองไว้สูงเกินจริง นำไปสู่ความมั่นใจแบบผิดๆ คืออยู่ในจุด

“ยอดเขาแห่งความโง่เขลา”
(Peak of Mt. Stupid)

จากเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นก็ตามที่ทำให้คนเหล่านี้รู้ตัวว่าตนนั้น “ไม่ได้ฉลาด” อย่างที่คิดไปเอง จะเหมือนโดนถีบลงสู่ “หุบเหวแห่งความสิ้นหวัง” (Valley of despair) จนสูญเสียความมั่นใจไปทั้งหมด

ทางเดินต่อไปคือการตัดสินใจว่าจะยอมแพ้ หรือศึกษาต่อเพื่อให้รู้จริงด้วยการไต่ระดับความชันของ “เนินแห่งปัญญา” (Slope of enlightment) ค่อยๆ ปีนสูงขึ้นไปพร้อมกับความรู้และความมั่นใจที่เติบโตขึ้นอย่างช้าๆ

เมื่อเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปถึงจุดหนึ่งที่ความรู้นั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวคุณ คือเข้าสู่ภาวะ “ที่ราบสูงแห่งความยั่งยืน” (Plateau of sustainabillity) นั่นคือจุดที่คนๆ นึงกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง

ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มักเป็นคนที่ถีบคนบน “ยอดเขาแห่งความโง่เขลา“ ลงสู่หุบเหวเพื่อให้ “เลิกฉลาดแบบคิดไปเอง” และเรียนรู้ต่อไป

 


 

ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR ได้ที่
https://web.facebook.com/prtr.thailand/

คนดี “ติเพื่อก่อ” เเล้วคนอะไร? ติเพื่อทำลาย เพราะชอบดูถูกคน

Top