ป้ายหน้าโรงเรียนที่ชื่นชมเด็กสอบติดหมอเเละวิศวะ ส่งผลลบไม่ต่างกับการทำ Employee recognition เเบบผิดๆ
ประเด็นนี้กำลังถูกสังคมตั้งคำถามถึงการมองข้ามเด็กที่มีความสนใจในด้านอื่น เช่น สังคม ดนตรี กีฬา แต่กลับพูดถึงความสำเร็จของเด็กที่เก่งจากมุมมองและการตัดสินของครู ว่าเด็กเก่งต้องเข้าเรียนที่คณะแพทย์หรือวิศวะเท่านั้น รวมถึงให้ความสำคัญกับ
“ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นปลายทาง” จึงละเลยสิ่งดีๆ อื่นๆ เช่น ความพยายาม การเข้าสังคม การมีวินัย
ในองค์กรก็เช่นกัน Employee recognition (การให้ความสำคัญกับพนักงาน) จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าบริษัทเห็นคุณค่าของตน แต่นอกจากจะชื่นชมคนที่ผลงานดี ต้องมองไปที่คุณค่าอื่นๆ ที่มีในตัวพนักงานด้วย
การทำ Employee recognition แบบฉาบฉวย เช่น การติดป้ายชื่นชมผลงานส่วนตัวที่บอร์ดแล้วจบ! แบบนี้ก็ไม่ต่างกับการทำป้ายหน้าโรงเรียนแบบผิดๆ และจะส่งผลเสียมากกว่า เช่น
1– เพราะบริษัทให้ความสำคัญกับผลงานส่วนบุคคลเท่านั้น พนักงานจึงละเลยการทำงานเป็นทีม
2– เพราะบริษัทให้ความสำคัญกับพฤติกรรม ขาด ลา มาสาย แทนที่พนักงานจะโฟกัสกับผลงาน ก็จะไปโฟกัสแต่เรื่องพฤติกรรม
3– เพราะบริษัทวัดผลงานจากสิ่งที่บริษัทเป็นผู้กำหนดเพียงเท่านั้น พนักงานก็ไม่กล้าคิดทำอะไรใหม่ๆ จนอาจแช่แข็งตัวเองอยู่ Comfort Zone เพื่อไม่ให้ตัวเองทำอะไรพลาด
4– ที่เลวร้ายที่สุดคือพนักงานที่ตั้งใจทำงานและมีความภักดีกับบริษัทสูงแต่กลับไม่มีใครให้ความสำคัญ จะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า จนอาจหมดไฟหมดใจไปจากบริษัทในที่สุด
บริษัทก็ไม่ต่างจากโรงเรียนที่อยากดึงดูดคนเก่งคนดีเข้ามาร่วมงาน แต่ถ้าเราทำแบบผิดวิธี ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่เป็นอย่างที่คิด
อีโก้เเรงมักฟุ้งเรื่องอดีต ไม่เก่งจริงเเต่ชอบโอ้อวด เพราะอาจมีภาวะทางจิต
ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR