Skip links

Recruitment Consultants vs. Talent Acquisition ต่างกันอย่างไร?

ในโลกของงาน HR หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Recruitment Consultant และ Talent Acquisition อยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าทั้งสองบทบาทจะมีเป้าหมายในการนำ “คนที่เหมาะสม” เข้าสู่องค์กร แต่วิธีการและมุมมองในการทำงานนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้น มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันได้เลย 

Recruitment Consultant: ผู้เชี่ยวชาญในการจับคู่ (คนที่ใช่และงานที่ใช่เข้าด้วยกัน) 

ตำแหน่ง Recruitment Consultant มักเป็นคำใช้เรียกผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานให้กับ “บริษัทจัดหางาน” หรือ recruitment agency พวกเขามีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางระหว่างองค์กรที่กำลังมองหาพนักงานและผู้สมัครที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ๆ 

จุดแข็งของ Recruitment Consultant: 

  1. เครือข่ายกว้างขวาง: มีฐานข้อมูลผู้สมัครที่หลากหลายและเข้าถึงได้รวดเร็ว 
  2. ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม: มักจะเชี่ยวชาญในบางอุตสาหกรรมหรือตำแหน่งงานเฉพาะ 
  3. มุมมองที่เป็นกลาง: สามารถให้คำแนะนำด้านตำแหน่งงาน แรงงาน ความคาดหวัง ที่ตรงไปตรงมาทั้งกับองค์กรและผู้สมัคร 
  4. ความยืดหยุ่นสูง: สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว 

Talent Acquisition: ผู้ค้นหา ดึงดูด และ รักษา “คนเก่ง”  

ผู้ที่รับบท Talent Acquisition ไม่ใช่แค่คนรับสมัครงานหาคนมาเติมตำแหน่งที่ว่างอยู่ แต่เป็นการค้นหา ดึงดูด และรักษา “ทาเลนต์” หรือบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่นเหนือกว่าค่าเฉลี่ย ให้อยู่และเติบโตไปกับองค์กรในระยะยาวให้ได้ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Talent Acquisition  

Talent Acquisition ทำอะไร?

มอง “talent” ที่แท้จริงให้ออก

  • ไม่ใช่แค่การอ่าน CV หรือสัมภาษณ์เบื้องต้น แต่เป็นการ “ทำความเข้าใจ” อย่างลึกซึ้งก่อนว่า อะไรคือคุณสมบัติที่ทำให้คนๆ หนึ่งเป็น “talent” ในบริบทขององค์กร 

ค้นหาอย่างมีกลยุทธ์: 

  • รู้ว่าจะพบ “ทาเลนต์” ได้จากที่ไหน ซึ่งอาจไม่ใช่แหล่งทั่วไปที่ Recruiter มักใช้ 
  • อาจใช้วิธีการเชิงรุก เช่น การเข้าร่วมงานอีเวนต์เฉพาะทาง การสร้างเครือข่ายในชุมชนผู้เชี่ยวชาญ หรือแม้แต่การใช้ AI ในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด

คัดกรองอย่างละเอียด: 

  • ออกแบบกระบวนการสัมภาษณ์และทดสอบที่ไม่เพียงแต่ประเมินทักษะ แต่ยังวัดศักยภาพในการเติบโตและความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กร 
  • อาจใช้เทคนิคการประเมินที่หลากหลาย เช่น การจำลองสถานการณ์ การทำโปรเจกต์จริง หรือการสัมภาษณ์แบบ panel ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากหลายฝ่าย

การสร้างประสบการณ์ที่ดึงดูดให้ทั้งคนใหม่เข้ามา และคนเก่าอยู่นานๆ

  • ไม่เพียงแต่นำเสนอตำแหน่งงาน แต่สร้างวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจสำหรับอนาคตของ “ทาเลนต์” ในองค์กร 
  • ออกแบบกระบวนการรับสมัครที่สะท้อนถึงคุณค่าและวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อดึงดูด “ทาเลนต์” ที่มีค่านิยมสอดคล้องกัน 

การวางแผนระยะยาว: 

  • มองไกลกว่าการเติมตำแหน่งว่างในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความต้องการในอนาคตขององค์กร 
  • สร้างและรักษา talent pool ที่มีคุณภาพสูง พร้อมที่จะดึงมาใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม 

 

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Recruitment Consultant และ Talent Acquisition คือระดับของความลึกและความละเอียดอ่อนในการทำงาน ในขณะที่ Recruitment Consultant มุ่งเน้นการจับคู่คนกับตำแหน่งงานที่มีอยู่ Talent Acquisition กลับมองการณ์ไกลและลงลึกมากกว่า โดยมุ่งเน้นการสร้างทีมที่มีศักยภาพสูงและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวขององค์กร 

ท้ายที่สุด การผสมผสานจุดแข็งของทั้งสองบทบาทอาจเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการสร้างทีมที่แข็งแกร่ง Recruitment Consultant อาจช่วยในการเข้าถึงตลาดแรงงานที่กว้างขึ้น ในขณะที่ Talent Acquisition จะช่วยกลั่นกรองและดึงดูด “ทาเลนต์” ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคตนั่นเอง 

 

Top