Skip links

ก่อนลาออก เพราะน้อยใจ จงมั่นใจว่าไม่ใช่ “อคติ” จาก Loss Aviation B…

หากคุณรู้สึกเหมือนกับว่า “เรื่องร้าย” ที่เคยเกิดขึ้นมันชัดเจนและรุนแรงกว่า “เรื่องดีๆ” ที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต มันเกิดจากอาการ “Loss aversion” หรือการขยาดความสูญเสีย ซึ่งอาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาด

ยกตัวอย่าง ถ้าช่วงต้นปีคุณได้ปรับเงินเดือนขึ้น 10,000 บาท คุณย่อมดีใจเป็นเรื่องธรรมดา แต่ผ่านมา 4 เดือน บริษัทขาดทุนจากวิกฤตไวรัส ทำให้คุณถูกลดเงินเดือนลง 10,000 บาท คุณจะรู้สึกหดหู่ชีวิตเศร้ามาก ทั้งๆ ที่คุณแค่กลับไปอยู่จุดเดิมก่อนหน้านี้ไม่นานเท่านั้น

ผลศึกษาทางจิตวิทยาพบว่า ความทุกข์มีค่าเป็น 2 เท่าของความสุข ถ้าคุณทำเงินหาย 100,000 บาท และถูกหวย 100,000 บาทในเวลาเดียวกัน “คุณจะรู้สึกแย่” เพราะจิตใจจะให้ความสำคัญต่อความทุกข์มากกว่า

นั่นคือคุณต้องถูกหวย 200,000 บาท มันถึงจะชดเชยความรู้สึกได้ในระดับเดียวกัน!

“ล้างรถทีไรฝนตกทุกที” ทั้งๆ ที่ล้างแล้วฝนก็ไม่ได้ตกมากกว่าด้วยซ้ำ

“ทำไมฉันโดนต่อว่าตลอด” ทั้งๆ ที่โดนชมก็บ่อย แต่จำไม่ค่อยได้!

เราจะขาดเหตุขาดผล (irrational) ในการตัดสินใจเพราะอคติทางจิตใจในรูปแบบต่างๆ ได้เสมอ นั่นทำให้คุณต้องระวังว่าอาจถูกชี้นำความคิดด้วย “ความรู้สึกในเชิงลบ”

หากวันนี้คิดจะ “ลาออก” หรือ “เลิก” กับใคร ลองคิดดูอีกทีว่า “สิ่งที่แย่” มันมากเกินกว่า “สิ่งที่ดี” จนรับไม่ไหวจริงมั้ย ก่อนจะเสียทุกอย่างไปเพราะตัดสินใจผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว

 

ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR ได้ที่
https://web.facebook.com/prtr.thailand/

 

กลัวขายหน้า จึงไม่ก้าวหน้า กลัวถูกปฎิเสธ จึงหยุดตัวเอง เเก้ด้วย Reject…

Top